CG PRINCIPLE

คณะกรรมการบริษัทมีเจตนารมณ์ที่จะดําเนินธุรกิจภายใต้หลักการกํากับดูแลกิจการที่ดีโดยยึดถือหลักการกํากับดูแลกิจการที่ดีสําหรับบริษัทจดทะเบียนปี 2560 (Corporate Governance Code for Listed Companies 2017) ตามแนวทางที่สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (สํานักงาน ก.ล.ต.) กําหนด และแนวทางการกํากับดูแลกิจการตามหลักการกํากับดูแลกิจการที่ดีของบริษัทจดทะเบียน (The Principles of Good Corporate Governance of Listed Companies) ตามแนวทางที่ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (ตลท.) กําหนด รวมถึงข้อเสนอแนะจากสมาคมส่งเสริมสถาบันกรรมการบริษัทไทย (IOD) ซึ่งส่งเสริมให้บริษัทจดทะเบียนปฏิบัติ เพื่อเสริมสร้างองค์กรให้มีระบบบริหารงานที่มีประสิทธิภาพ สร้างความเป็นธรรมและความเชื่อมั่นแก่ผู้มีส่วนได้เสียทุกฝ่าย และเป็นพื้นฐานให้บริษัทพัฒนาไปสู่การเติบโตอย่างยั่งยืน โดยบริษัทมีแนวทางการกํากับดูแลกิจการควบคู่ไปกับการมีความรับผิดชอบต่อสังคม ชุมชน และสิ่งแวดล้อม จนกลายเป็นวัฒนธรรมองค์กร โดยมีการบูรณาการกับวิสัยทัศน์ พันธกิจ กลยุทธ์ และเป้าหมายขององค์กร เพื่อเพิ่มความเชื่อมั่นให้แก่ผู้ถือหุ้น ผู้ลงทุน และผู้มีส่วนได้ เสียทุกฝ่ายนําไปสู่การสร้างความเจริญก้าวหน้าในเชิงธุรกิจที่ก้าวไปพร้อมกับการมีส่วนร่วมในการพัฒนาและส่งเสริม การศึกษา การกีฬา ชุมชน สังคมและสิ่งแวดล้อม ดังนี้

CG Policy

หลักการกำกับดูแลกิจการ

หลักการกํากับดูแลกิจการของบริษัท แบ่งเป็น 5 หมวด ได้แก่

  • หมวดที่ 1 สิทธิของผู้ถือหุ้น
  • หมวดที่ 2 การปฏิบัติต่อผู้ถือหุ้นอย่างเท่าเทียมกัน
  • หมวดที่ 3 บทบาทของผู้มีส่วนได้เสีย
  • หมวดที่ 4 การเปิดเผยข้อมูลและความโปร่งใส
  • หมวดที่ 5 ความรับผิดชอบของคณะกรรมการ

Corporate Governance Guidelines

1
Rights of Shareholders

คณะกรรมการบริษัท ให้ความสำคัญและเคารพสิทธิของผู้ถือหุ้นทุกรายอย่างเท่าเทียมกัน และการอำนวยความสะดวกแก่ผู้ถือหุ้นในการใช้สิทธิในเรื่องต่าง ๆ ทั้งสิทธิขั้นพื้นฐานและสิทธิที่ตนเองสมควรได้รับ เช่น การซื้อขาย หรือ การโอนหุ้น การมีส่วนแบ่งในกำไรของกิจการ การได้รับข่าวสารข้อมูลของกิจการอย่างเพียงพอและทันเวลา การเข้าร่วมประชุมเพื่อใช้สิทธิออกเสียงในที่ประชุมผู้ถือหุ้นเพื่อแต่งตั้งหรือถอดถอนกรรมการ การกำหนดค่าตอบแทน กรรมการ การแต่งตั้งผู้สอบบัญชีและกำหนดจำนวนเงินค่าสอบบัญชี และเรื่องที่มีผลกระทบต่อบริษัท เป็นต้น และไม่กระทำการใดๆ อันเป็นการละเมิดหรือริดรอนสิทธิของผู้ถือหุ้นแต่อย่างใด

การประชุมผู้ถือหุ้น

คณะกรรมการบริษัท ส่งเสริมให้จัดการประชุมผู้ถือหุ้นที่คำนึงถึงสิทธิและความเท่าเทียมกันของผู้ถือหุ้นในการเข้าร่วมประชุมตามกฎหมายและหลักการกำกับดูแลกิจการที่ดี โดยได้กำหนดให้มีการประชุมสามัญผู้ถือหุ้นปีละ 1 ครั้ง ภายในเวลาไม่เกิน 4 เดือนนับแต่วันสิ้นสุดรอบปีบัญชี (วันสิ้นสุดรอบปีบัญชีของบริษัท คือวันที่ 31 ธันวาคม ของทุกปี) และในกรณีที่มีความจำเป็นเร่งด่วนต้องเสนอวาระเป็นกรณีพิเศษซึ่งเป็นเรื่องที่กระทบ หรือเกี่ยวข้องกับผลประโยชน์ของผู้ถือหุ้น หรือเกี่ยวข้องกับเงื่อนไขหรือกฎเกณฑ์ กฎหมายที่ใช้บังคับที่ต้องได้รับการอนุมัติจากผู้ถือหุ้นเป็นการเร่งด่วนแล้ว บริษัทจะเรียกประชุมวิสามัญผู้ถือหุ้นเป็นกรณีไป โดยบริษัท จะปฏิบัติตามหลักเกณฑ์และเงื่อนไขของกฎหมายหรือประกาศที่เกี่ยวข้องและดำเนินการอย่างเต็มที่เพื่อให้ผู้ถือหุ้นได้รับทราบข้อมูลล่วงหน้าก่อนวันประชุมโดยเร็วที่สุด

ก่อนวันประชุมผู้ถือหุ้น บริษัทจะเปิดโอกาสให้ผู้ถือหุ้นสามารถส่งความเห็น ข้อเสนอแนะ หรือข้อซักถามได้ล่วงหน้าก่อนวันประชุม โดยกำหนดหลักเกณฑ์การส่งคำถามล่วงหน้าให้ชัดเจน รวมทั้งในหนังสือเชิญประชุม บริษัทจะจัดให้มีความเห็นของคณะกรรมการบริษัทในแต่ละวาระการประชุมผู้ถือหุ้น รวมทั้งบริษัท จะส่งหนังสือเชิญประชุมและเอกสารประกอบการประชุมให้ผู้ถือหุ้น ล่วงหน้าไม่น้อยกว่าเจ็ด (7) วัน หรือสิบสี่ (14) วัน (แล้วแต่กรณี) ตลอดจนเผยแพร่หนังสือเชิญประชุมและเอกสารดังกล่าวทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษไว้บนเว็บไซต์บริษัท (www.zalekta.com) ล่วงหน้าก่อนวันประชุม เพื่อให้ผู้ถือหุ้นมีเวลาศึกษาข้อมูลและตัดสินใจล่วงหน้าอย่างเพียงพอ และจะเสนอรายชื่อของกรรมการอิสระของบริษัทอย่างน้อยจำนวน 1 คน เพื่อเป็นทางเลือกในการมอบฉันทะสำหรับผู้ถือหุ้น โดยบริษัท ได้แนบรายละเอียดเกี่ยวกับชื่อและประวัติกรรมการอิสระไปพร้อมกับหนังสือเชิญประชุมด้วย นอกจากนี้บริษัท จะลงประกาศในหนังสือพิมพ์ เพื่อแจ้งกำหนดวัน เวลา สถานที่และวาระการประชุมทั้งติดต่อกัน 3 วันก่อนวันประชุม ไม่น้อยกว่า 3 วัน

ภายหลังการประชุมผู้ถือหุ้นแล้วเสร็จ บริษัทจะจัดทำรายงานการประชุมที่บันทึกข้อมูลอย่างถูกต้องและครบถ้วนใน สาระสำคัญ เพื่อให้ผู้ถือหุ้นสามารถตรวจสอบได้ นอกจากนี้ บริษัทจะนำผลการลงคะแนนในแต่ละวาระ รวมทั้งเผยแพร่รายงานการประชุมบนเว็บไซต์ของบริษัท และช่องทางของตลาดหลักทรัพย์ฯ เพื่อให้ผู้ถือหุ้นได้พิจารณา

คณะกรรมการบริษัทมีนโยบายในการถือปฏิบัติต่อผู้ถือหุ้นทุกรายอย่างเท่าเทียมกันและเป็นธรรมไม่ว่าจะเป็นผู้ถือหุ้นรายใหญ่หรือผู้ถือหุ้น รายย่อย ผู้ถือหุ้นที่เป็นผู้บริหาร หรือผู้ถือหุ้นที่มิได้เป็นผู้บริหาร ผู้ถือหุ้นสัญชาติไทยหรือต่างด้าว โดยดําเนินการต่าง ๆ เพื่อคุ้มครองสิทธิของผู้ถือหุ้นและอํานวยความสะดวกแก่ผู้ถือหุ้นในการใช้สิทธิในเรื่องต่าง ๆ ที่ผู้ถือหุ้นสมควรได้รับ โดยคณะกรรมการบริษัทมีนโยบายในการปฏิบัติต่อผู้ถือหุ้นในด้านต่าง ๆ อย่างเท่าเทียมกันดังนี้

  1. บริษัทให้สิทธิแก่ผู้ถือหุ้นในการออกเสียงลงคะแนนในแบบหนึ่งหุ้นต่อหนึ่งเสียงหุ้นประเภทเดียวกันมีสิทธิออกเสียงที่เท่าเทียมกันเท่ากับหนึ่งหุ้นต่อหนึ่งเสียง
  2. เปิดโอกาสให้ผู้ถือหุ้นรายเดียวหรือหลายรายรวมกันแล้วถือหุ้นของบริษัท สามารถเสนอวาระการประชุม และรายชื่อบุคคลเพื่อเข้าดํารงตําแหน่งกรรมการล่วงหน้าก่อนการประชุมสามัญผู้ถือหุ้นประจําปี โดยเผยแพร่รายละเอียดผ่านช่องทาง ตลท. และเว็บไซต์บริษัท
  3. บริษัทอํานวยความสะดวกแก่ผู้ถือหุ้นที่ไม่สามารถเข้าร่วมประชุมด้วยตนเอง โดยบริษัท จะจัดส่งหนังสือมอบฉันทะไปพร้อมกับหนังสือเชิญประชุม พร้อมทั้งแนบเอกสารหลักฐาน ตลอดจนคําแนะนําวิธีการมอบฉันทะที่เข้าใจง่าย เพื่อให้ผู้ถือหุ้นสามารถจัดเตรียมได้อย่างถูกต้อง และไม่เกิดปัญหาในการเข้าร่วมประชุมของผู้รับมอบฉันทะ นอกจากนี้ผู้ถือหุ้นยังสามารถดาวน์โหลดแบบหนังสือมอบฉันทะดังกล่าวจากเว็บไซต์ของบริษัท ได้อีกช่องทางหนึ่ง
  4. บริษัทจะกําหนดหลักเกณฑ์วิธีการให้ผู้ถือหุ้นส่วนน้อยสามารถเสนอชื่อบุคคลเพื่อเข้าดํารงตำแหน่งกรรมการ โดยสามารถเสนอชื่อต่อคณะกรรมการบริษัทล่วงหน้าก่อนวันประชุมผู้ถือหุ้น พร้อมข้อมูลประกอบ การพิจารณาด้านคุณสมบัติและการให้ความยินยอมของผู้ได้รับการเสนอชื่อ
  5. บริษัทจะดําเนินการประชุมผู้ถือหุ้นโดยเรียงตามวาระที่ได้แจ้งไว้ในหนังสือเชิญประชุม และไม่มีการเพิ่มวาระในที่ประชุมโดยไม่ได้แจ้งให้ผู้ถือหุ้นทราบล่วงหน้า นอกเหนือจากที่ระบุไว้ใน หนังสือเชิญประชุม เพื่อความเป็นธรรมต่อผู้ถือหุ้นที่ไม่ได้เข้าร่วมประชุม เว้นแต่ในกรณีจําเป็นเพื่อประโยชน์ ของบริษัท และได้ปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ของกฎหมายที่เกี่ยวข้องอย่างเคร่งครัด
  6. บริษัทจะจัดให้มีการลงคะแนนในทุกวาระการประชุมอย่างโปร่งใสและสามารถตรวจสอบได้ในกรณีมีข้อโต้แย้งในภายหลัง พร้อมทั้งตรวจนับ คะแนนเสียง และเปิดเผยผลการลงคะแนนเสียง และบันทึกมติของที่ประชุมไว้อย่างชัดเจนในรายงานการประชุม
  7. ในการดําเนินการประชุมผู้ถือหุ้นแต่ละครั้ง บริษัทจะให้โอกาสแก่ผู้ถือหุ้นทุกรายอย่างเท่าเทียมกัน โดยก่อนเริ่มการประชุม บริษัทจะชี้แจงให้ผู้ถือหุ้นทราบกฎเกณฑ์ต่าง ๆ ที่ใช้ในการประชุม วิธีการใช้สิทธิออกเสียง สิทธิออกเสียงลงคะแนนตามแต่ละประเภทของหุ้น และวิธีนับคะแนนเสียงของผู้ถือหุ้นที่ต้องลงมติในแต่ละวาระ
  8. ในวาระเลือกตั้งกรรมการ บริษัทจะสนับสนุนให้มีการเลือกตั้งกรรมการเป็นรายคน โดยให้ผู้ถือหุ้นคนหนึ่งมีคะแนนเสียง เท่ากับหนึ่งหุ้นต่อหนึ่งเสียง
  9. คณะกรรมการบริษัท ได้กําหนดนโยบายและแนวทางการปฏิบัติเกี่ยวกับการป้องกันความขัดแย้งทางผลประโยชน์และการป้องกันการใช้ข้อมูลภายใน เพื่อหาผลประโยชน์ให้แก่ตนเองหรือผู้อื่นในทางมิชอบไว้ใน จริยธรรมธุรกิจ (Code of Conduct) และ เผยแพร่ให้กรรมการ ผู้บริหาร และพนักงานทุกคนของบริษัท รับทราบและถือปฎิบัติอย่างเคร่งครัด ทั้งนี้ เพื่อป้องกันกรณีที่กรรมการและผู้บริหารของบริษัท ทําการซื้อขายหุ้นของบริษัทโดยใช้ข้อมูลภายใน หรือการทํารายการที่เกี่ยวโยงกัน ตลอดจนซื้อขายสินทรัพย์ในลักษณะที่เป็นการฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามกฎเกณฑ์ของ ก.ล.ต. และ ตลท.
  10. คณะกรรมการบริษัท กําหนดให้กรรมการและผู้บริหาร (ตามนิยามของ ก.ล.ต.) ดําเนินการตามมาตรา 89 แห่ง พ.ร.บ. หลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ฯ โดยรายงานการมีส่วนได้เสียของตนและบุคคลที่มีความเกี่ยวข้อง (รวมถึง ทุกครั้งที่มีการเปลี่ยนแปลงข้อมูล) โดยมอบหมายให้เลขานุการบริษัทรายงานสรุปข้อมูลการมีส่วนได้เสีย (รวมถึงการเปลี่ยนแปลง) ต่อที่ประชุมคณะกรรมการบริษัท เพื่อสามารถพิจารณาธุรกรรมของบริษัทที่อาจมีความขัดแย้งทางผลประโยชน์ต่อบริษัทโดยรวม ทั้งนี้ กรรมการ และผู้บริหารที่มีส่วนได้เสียใดๆ ในเรื่องที่พิจารณาจะต้องไม่เข้าร่วมในการแสดงความเห็นและไม่มีสิทธิออกเสียงลงมติในเรื่องนั้น ๆ

การทำรายการที่เกี่ยวโยงกัน

บริษัทตระหนักถึงความสําคัญในการดําเนินธุรกิจด้วยความโปร่งใส และคํานึงถึงผู้มีส่วนได้เสียทุกฝ่าย ดังนั้น จึงกําหนดไว้ในนโยบายการกํากับดูแลกิจการที่ดีของบริษัท อย่างชัดเจน โดยให้การทํารายการที่เกี่ยวโยงกันทุกรายการของบริษัทและบริษัทย่อย อย่างน้อยต้องผ่านความเห็นชอบจากฝ่ายบริหารของบริษัท รวมทั้งการทํารายการที่เกี่ยวโยงกันที่เข้าข่ายจะต้องเปิดเผยข้อมูลหรือขออนุมัติจากผู้ถือหุ้นตามข้อกําหนดของ ตลท. ก่อนทํารายการ บริษัทต้องเปิดเผยรายละเอียด อาทิ ชื่อ ความสัมพันธ์ของบุคคลที่เกี่ยวโยง นโยบายการกําหนดราคามูลค่าของรายการ เหตุผลของการทํารายการ รวมทั้งความเห็นของคณะกรรมการบริษัทเกี่ยวกับรายการดังกล่าวให้ผู้ถือหุ้นทราบอย่างชัดเจนและหากมีการตกลงเข้าทํารายการที่เกี่ยวโยงกันและเข้าข่ายเป็นรายการตามที่กําหนดในข้อกําหนดของ ตลท. ว่าด้วยการเปิดเผยข้อมูลและการปฏิบัติการของบริษัทจดทะเบียนในรายการที่เกี่ยวโยงกัน และ/หรือในรายการเกี่ยวกับการได้มา หรือจําหน่ายไป ซึ่งสินทรัพย์ของบริษัทจดทะเบียน บริษัทจะปฏิบัติตามข้อกําหนดของ ตลท. ซึ่งกําหนดให้ต้องผ่านความเห็นชอบและ/หรือผ่านการอนุมัติจากฝ่ายบริหารและ/หรือที่ประชุมคณะกรรมการบริษัท และ/หรือที่ประชุมผู้ถือหุ้นแล้วแต่กรณี โดยบุคคลที่เกี่ยวโยงกันไม่มีสิทธิออกเสียง

ในการป้องกันความขัดแย้งทางผลประโยชน์ คณะกรรมการบริษัทจะมีการดูแลอย่างรอบคอบเมื่อเกิดรายการที่อาจมีความขัดแย้งทางผลประโยชน์ โดยกําหนดนโยบายและขั้นตอนการอนุมัติรายการที่เกี่ยวโยงกันเป็นลายลักษณ์อักษรไว้ในอํานาจดําเนินการ และ/หรือ ขออนุมัติจากผู้ถือหุ้นตามข้อกําหนดของ ตลท. รวมทั้ง มีการปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ของ ตลท. โดยราคาและเงื่อนไขเสมือนทํารายการกับบุคคลภายนอก (Arm's Length Basis) โดยคณะกรรมการตรวจสอบจะนําเสนอต่อคณะกรรมการบริษัท เกี่ยวกับรายการที่มีความขัดแย้งทางผลประโยชน์และรายการที่เกี่ยวโยงกันอย่างสม่ำเสมอ

บริษัท และบริษัทย่อยไม่มีนโยบายที่จะทํารายการกับบุคคลที่เกี่ยวโยงกัน ยกเว้นในกรณีที่บริษัทเห็นว่าจะได้รับผลตอบแทนสูงสุดซึ่งเป็นไปในราคาและเงื่อนไขการค้าโดยทั่วไปที่ไม่แตกต่างจากบุคคลภายนอก ซึ่งบริษัท จะกําหนดให้ผ่านความเห็นชอบจากฝ่ายบริหาร และ/หรือคณะกรรมการบริษัท และ/หรือที่ประชุมผู้ถือหุ้นแล้วแต่กรณี

นอกจากนั้น คณะกรรมการบริษัทยังตระหนักถึงความสําคัญในการป้องกันความขัดแย้งทางผลประโยชน์ จึงกําหนดให้มีการเปิดเผยข้อมูลและความโปร่งใสเกี่ยวกับการทํารายการที่เกี่ยวโยงกันและการป้องกันความขัดแย้งทางผลประโยชน์ที่อาจเกิดขึ้น โดยให้มีการจัดทํารายงานต่างๆ เช่น การจัดทํารายงานเปิดเผยรายการที่อาจมีความ ขัดแย้งทางผลประโยชน์ และ/หรือ รายการระหว่างกัน รายงานการถือหลักทรัพย์และการเปลี่ยนแปลงการถือหลักทรัพย์ของบริษัท และรายงานการมีส่วนได้เสียของกรรมการ ผู้บริหาร และบุคคลที่มีความเกี่ยวข้อง

คณะกรรมการบริษัท ยึดมั่นในการดําเนินธุรกิจของบริษัทด้วยความซื่อสัตย์ โปร่งใส ควบคู่ไปกับการมีบทบาทและความรับผิดชอบต่อสังคม โดยให้ความสําคัญกับสิทธิของผู้มีส่วนได้เสียทุกฝ่ายของบริษัท ไม่ว่าจะเป็นผู้มีส่วนได้เสียภายในได้แก่ กรรมการ พนักงาน และผู้บริหารของบริษัท หรือผู้มีส่วนได้เสียภายนอกได้แก่ ผู้ถือหุ้น ลูกค้า คู่ค้า เจ้าหนี้ คู่แข่งทางการค้า สังคมและสิ่งแวดล้อม ภาครัฐและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องอย่างเหมาะสม ทั้งสิทธิที่กําหนดโดยกฎหมายหรือโดยข้อตกลงที่ทําร่วมกัน โดยคณะกรรมการบริษัท ได้กําหนดแนวทางปฏิบัติสําหรับกรรมการ ผู้บริหาร และพนักงานไว้ในจริยธรรมธุรกิจของกลุ่มบริษัท เพื่อให้เกิดความโปร่งใสและเป็นธรรมต่อผู้มีส่วนได้เสียกลุ่มต่าง ๆ โดยสรุปจริยธรรมว่าด้วยการปฏิบัติต่อผู้มีส่วนได้เสียต่างๆ ได้ดังนี้

จริยธรรมว่าด้วยการปฏิบัติต่อผู้ถือหุ้น

บริษัทมีนโยบายและแนวทางปฎิบัติต่อผู้ถือหุ้นอย่างเสมอภาคและเท่าเทียมกัน ดังนี้

  1. ปฎิบัติหน้าที่และดําเนินธุรกิจด้วยความซื่อสัตย์ สุจริต โปร่งใส มีความรับผิดชอบต่อผู้ถือหุ้นโดยสม่ำเสมอ (Accountability to Shareholders) มีการเปิดเผยข้อมูลต่อผู้ถือหุ้นอย่างถูกต้องครบถ้วน มีมาตรฐานโดยอยู่ภายใต้กรอบของกฎหมายหลักจริยธรรมและแนวทางการกํากับดูแลกิจการที่ดี
  2. บริหารกิจการของบริษัทให้มีความเจริญก้าวหน้า มั่นคง โดยใช้ความรู้ ความสามารถและประสบการณ์อย่างเต็มที่ ตลอดจนตัดสินใจดําเนินการใดๆ ด้วยความซื่อสัตย์ สุจริต ระมัดระวัง รอบคอบ (Duty of Care) และเป็นธรรม เพื่อผลประโยชน์สูงสุดของผู้ถือหุ้นโดยรวม
  3. กํากับดูแลการดําเนินงาน เพื่อให้มั่นใจว่าบริษัทมีสถานะทางการเงิน การบริหารและการจัดการที่ถูกต้อง เหมาะสม เพื่อปกป้องและเพิ่มผลประโยชน์ของผู้ถือหุ้น
  4. จัดการดูแลไม่ให้ทรัพย์สินใด ๆ ของบริษัท เสื่อมค่า สูญหาย หรือสูญเสียไปโดยเปล่าประโยชน์
  5. ไม่แสวงหาประโยชน์ให้ตนเองและผู้เกี่ยวข้อง โดยเปิดเผยข้อมูลภายในใด ๆ ของบริษัท ที่เป็นความลับและ/หรือ ยังไม่ได้เปิดเผยต่อสาธารณะต่อบุคคลภายนอกอันจะนํามาซึ่งผลเสียของบริษัท
  6. เคารพสิทธิของผู้ถือหุ้นโดยรายงานสถานะและผลการดําเนินงานของบริษัท รวมทั้งข้อมูลสารสนเทศให้ผู้ถือหุ้นทุกรายทราบอย่างเท่าเทียมกัน สม่ำเสมอ ทันเวลา ถูกต้องและครบถ้วนตามความจริง โดยมีข้อมูลสนับสนุนที่มีเหตุผลอย่างเพียงพอและ เป็นไปตามที่ ก.ล.ต. และ ตลท. กําหนด
  7. ไม่ดําเนินการใดๆ ในลักษณะซึ่งอาจก่อให้เกิดความขัดแย้งทางผลประโยชน์กับบริษัทโดยมิได้แจ้งให้บริษัททราบ

จริยธรรมว่าด้วยการปฏิบัติต่อพนักงาน

บริษัทตระหนักเป็นอย่างดีว่าพนักงานทุกคนเป็นทรัพยากรที่ทรงคุณค่าที่สุดของบริษัท และเป็นปัจจัยแห่งความสําเร็จของการบรรลุเป้าหมายของบริษัท ดังนั้นบริษัทจึงให้การดูแลและปฎิบัติที่เป็นธรรมทั้งในด้านโอกาส ผลตอบแทน การแต่งตั้ง โยกย้าย การเลิกจ้าง ตลอดจนกําาหนดนโยบายในการพัฒนาบุคคลากรและ สนับสนุนให้พนักงานได้มีการพัฒนาและแสดงศักยภาพและคุณค่าแห่งตนเพื่อร่วมกันเป็นส่วนหนึ่งในการพัฒนาองค์กรให้เจริญก้าวหน้าอย่างต่อเนื่องและยั่งยืน โดยมีนโยบายและแนวทางปฎิบัติต่อพนักงานดังนี้

  1. ปฏิบัติต่อพนักงานด้วยความเคารพในเกียรติ ศักดิ์ศรี และหลักสิทธิมนุษยชน
  2. การแต่งตั้ง โยกย้าย รวมถึง ให้รางวัลและลงโทษพนักงานกระทําด้วยความสุจริตใจและตั้งอยู่บนพื้นฐานของความรู้ ความสามารถ ความเหมาะสม และเป็นธรรมโดยไม่เลือกปฏิบัติ
  3. ประเมินผลงานและความก้าวหน้าของพนักงานอย่างสม่ำเสมอ
  4. ให้ผลตอบแทนในด้านต่างๆ อย่างเป็นธรรมและความเหมาะสมตามความรู้ ความสามารถประสบการณ์ ตําแหน่งงาน ความรับผิดชอบ และผลการปฎิบัติงานของพนักงานแต่ละคน โดยจะพิจารณาให้ สอดคล้องกับผลการดําเนินธุรกิจของบริษัท สภาวะแวดล้อมทางเศรษฐกิจและสังคม
  5. จัดให้มีสวัสดิการและสิทธิประโยชน์ต่างๆ ที่เหมาะสม ให้กับพนักงานโดยเทียบเคียงกับบริษัทอื่นที่อยู่ในธุรกิจเดียวกัน หรือใกล้เคียงกัน และเป็นไปตามที่กฎหมายกําหนด เช่น กองทุนสํารองเลี้ยงชีพสําหรับพนักงาน เป็นต้น
  6. สนับสนุนและให้ความสําคัญกับการพัฒนาความรู้ความสามารถและศักยภาพที่เป็นประโยชน์ต่อพนักงานทุกระดับอย่างต่อเนื่องและสม่ำเสมอ เพื่อความก้าวหน้าในอาชีพการงานของพนักงาน
  7. ดูแลรักษาสภาพแวดล้อมที่ดีในการทํางานเพื่อสุขอนามัยและมีความปลอดภัยต่อชีวิตและทรัพย์สิน ของพนักงานอยู่เสมอ
  8. ส่งเสริมให้พนักงานมีคุณภาพชีวิตที่ดียิ่งขึ้นและสนับสนุนให้มีการพัฒนาชีวิตความเป็นอยู่ของครอบครัวพนักงานให้มีความสุขและสามารถพึ่งพาตนเองอย่างยั่งยืน ตามแนวปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง
  9. ส่งเสริมการมีส่วนร่วมของพนักงาน และเคารพสิทธิในการรวมกลุ่มของพนักงาน ในอันที่จะเสนอแนะหรือกําหนดแนวทางการทํางาน สวัสดิการ และ/หรือข้อตกลงต่าง ๆ เพื่อให้เกิดประโยชน์แก่ทุกฝ่าย และสร้างความสัมพันธ์อันดีในการทํางานร่วมกัน ตลอดจนมีช่องทางในการรับเรื่องร้องเรียนการกระทําความผิด แนวทางการไต่สวนหาข้อเท็จจริง และการปกป้องผู้แจ้งเบาะแส
  10. ส่งเสริมให้พนักงานปฏิบัติงานภายใต้วัฒนธรรม และค่านิยมที่ดีร่วมกัน ตลอดจนมีความสามัคคีภายในองค์กร
  11. บริหารงานโดยระมัดระวังและหลีกเลี่ยงการกระทําใด ๆ ที่ไม่เป็นธรรม ซึ่งอาจมีผลกระทบต่อความมั่นคงในหน้าที่การงานของพนักงาน
  12. ปฏิบัติตามกฎหมายข้อบังคับต่างๆ เกี่ยวกับกฎหมายแรงงาน (เช่น การจ้างงาน การเลิกจ้าง) และ สวัสดิภาพของพนักงาน

จริยธรรมว่าด้วยการปฏิบัติต่อคู่ค้า

บริษัทปฏิบัติต่อคู่ค้าด้วยความเสมอภาคและคํานึงถึงผลประโยชน์ร่วมกัน โดยมีนโยบายและ แนวทางปฏิบัติต่อคู่ค้า ดังนี้

  1. ปฏิบัติต่อคู่ค้าอย่างเสมอภาค เป็นธรรมและตั้งอยู่บนพื้นฐานของการได้รับผลตอบแทนที่เป็นธรรม ต่อทั้งสองฝ่าย
  2. ปฏิบัติตามสัญญาหรือเงื่อนไขต่าง ๆ ที่ตกลงกันไว้อย่างเคร่งครัด และในกรณีที่ไม่สามารถปฏิบัติตามเงื่อนไขข้อใดข้อหนึ่งได้ ต้องรีบแจ้งให้คู่ค้าทราบโดยเร็ว เพื่อร่วมกันพิจารณาหาแนวทางแก้ไขโดยใช้หลักความสมเหตุสมผล
  3. ไม่เรียกรับ หรือยอมรับทรัพย์สิน หรือประโยชน์อื่นใดที่ไม่สุจริตในการค้ากับคู่ค้า
  4. ในกรณีที่มีข้อมูลว่ามีการเรียกรับ หรือยอมรับทรัพย์สิน หรือประโยชน์อื่นใดที่ไม่สุจริตเกิดขึ้นจะต้องเปิดเผยข้อมูลต่อคู่ค้า เพื่อร่วมกันแก้ไขปัญหาโดยไม่ชักช้า

จริยธรรมว่าด้วยการปฏิบัติต่อคู่แข่งทางการค้า

บริษัทดําเนินธุรกิจภายใต้กรอบกติกาของการแข่งขันเสรีและเป็นธรรม โดยมีนโยบายและ แนวทางปฏิบัติต่อคู่แข่งทางการค้า ดังนี้

  1. ประพฤติปฎิบัติต่อคู่แข่งทางการค้า ภายใต้กรอบกติกามารยาทของการแข่งขันที่ดี และเป็นธรรม
  2. ไม่แสวงหาข้อมูลที่เป็นความลับของคู่แข่งทางการค้าด้วยวิธีที่ฉ้อฉล ไม่สุจริต หรือไม่เหมาะสม หรือ ขัดต่อข้อกฎหมาย
  3. ไม่กระทําโดยเจตนาเพื่อทําลายชื่อเสียงของคู่แข่งทางการค้าด้วยการกล่าวหาในทางเสื่อมเสีย โดยปราศจากซึ่งข้อมูลอันอาจกล่าวอ้างได้
  4. ไม่กระทําการใด ๆ ที่เป็นการละเมิดทรัพย์สินทางปัญญาและงานอันมีลิขสิทธิ์ของผู้อื่น หรือคู่แข่งทางการค้า
  5. มีนโยบาย หรือมาตรการในการตรวจสอบ คัดกรองคู่ค้าของบริษัท เช่น ผู้ผลิต ผู้รับจ้างต่างๆ รวมทั้งสนับสนุนการทําธุรกิจกับคู่ค้าที่ดําเนินกิจการรอย่างเป็นธรรม ไม่มีการละเมิดสิทธิมนุษยชน และ ตระหนักถึงความรับผิดชอบต่อสังคม เพื่อให้การคัดเลือกคู่ค้ามีความโปร่งใส ตรวจสอบได้ ประกาศให้ถือปฏิบัติตาม อย่างเคร่งครัด
  6. ไม่ให้ความร่วมมือ หรือสนับสนุนบุคคล หรือองค์กรใด ๆ ที่ทําธุรกิจผิดกฎหมาย หรือเป็นภัยต่อสังคม และความมั่นคงของประเทศ
  7. มุ่งมั่นในการรักษาสัมพันธภาพที่ยั่งยืนกับคู่ค้าและคู่สัญญาและให้ความเชื่อถือซึ่งกันและกัน

จริยธรรมว่าด้วยการปฏิบัติต่อลูกค้า

บริษัทดําเนินธุรกิจภายใต้แนวทางปฏิบัติต่อลูกค้า โดยบริษัทรับผิดชอบต่อลูกค้าโดยการรักษาคุณภาพและมาตรฐานงานของบริษัทรวมถึง การตอบสนองต่อความต้องการของลูกค้าให้ครบถ้วนและครอบคลุมให้มากที่สุด เพื่อมุ่งเน้น การสร้างความพึงพอใจให้แก่ลูกค้าในระยะยาว

จริยธรรมว่าด้วยการปฏิบัติต่อเจ้าหนี้

บริษัทจะปฏิบัติตามเงื่อนไขข้อกําหนดต่าง ๆ ของสัญญาและพันธะทางการเงินอย่างเคร่งครัด รวมทั้งการชําระคืนเงินต้น ดอกเบี้ย และการดูแลหลักประกันต่าง ๆ ภายใต้สัญญาที่เกี่ยวข้อง ตลอดจนไม่ใช้วิธีการที่ไม่สุจริต ปกปิดข้อมูลหรือข้อเท็จจริง อันจะทําให้เจ้าหนี้เกิดความเสียหาย กรณีที่ไม่สามารถปฏิบัติตามเงื่อนไขข้อใดข้อหนึ่ง ต้องรีบแจ้งให้เจ้าหนี้ทราบล่วงหน้า เพื่อร่วมกันพิจารณาหาแนวทางแก้ไข

จริยธรรมว่าด้วยการปฏิบัติต่อ ชุมชน สังคมและสิ่งแวดล้อม

คณะกรรมการบริษัทมีความมุ่งมั่นในการดําเนินธุรกิจอย่างยั่งยืนบนพื้นฐานของความรับผิดชอบต่อสิ่งแวดล้อม โดยดําเนินธุรกิจภายใต้กฎหมาย ข้อกําหนด กฎระเบียบที่เกี่ยวข้องกับสิ่งแวดล้อมอย่างเคร่งครัด กําหนดเป้าหมายการใช้ทรัพยากรธรรมชาติอย่างรู้คุณค่า ลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมที่เกิดจากการดําเนินธุรกิจ การจัดการของเสียที่เกิดจากกระบวนการผลิต และผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นตลอดสายโซ่อุปทานขององค์กร รวมทั้งปลุกจิตสํานึกเกี่ยวกับความรับผิดชอบต่อสิ่งแวดล้อมแก่พนักงานทุกระดับอย่างต่อเนื่องผ่านการให้ความรู้และฝึกอบรมในเรื่องสิ่งแวดล้อม โดยมีนโยบายและแนวทางปฎิบัติต่อสังคมและสิ่งแวดล้อม ดังนี้

  1. พนักงานต้องปฏิบัติงานโดยคํานึงถึงการรักษาสภาวะแวดล้อม
  2. พนักงานต้องปฏิบัติตามข้อกําหนดเกี่ยวกับการักษาสภาวะแวดล้อม เมื่อใช้อุปกรณ์หรือเมื่อปฏิบัติงาน
  3. พนักงานต้องปฎิบัติตามกฎหมายหรือนโยบายบริษัทในการจัดการวัตถุหรือของเสียมีพิษ
  4. พนักงานต้องปฏิบัติตามระบบการควบคุมมลภาวะ
  5. พนักงานต้องเข้ามีส่วนร่วมในโครงการของบริษัทเกี่ยวกับการป้องกันและอนุรักษ์สภาวะแวดล้อม
  6. พนักงานต้องคํานึงถึงผลกระทบทางด้านสภาวะแวดล้อมในการจัดซื้อของบริษัท เช่น สารที่อาจเป็นพิษ ค่าใช้จ่ายและวิธีการจัดการ การจัดเก็บและการทําลาย รวมทั้งโอกาสในการนำกลับมาใช้ใหม่
  7. พนักงานต้องรายงานต่อหน่วยงานด้านสภาวะแวดล้อม สุขภาพ และความปลอดภัยของบริษัทหากเกิดสภาพความไม่ปลอดภัย หรือเป็นอันตายต่อสภาพแวดล้อม สุขภาพ หรือ สวัสดิภาพของพนักงานและผู้อื่น เช่น การหกเปื้อน การรั่วไหล และสภาวะ ฉุกเฉินอื่นๆ
  8. เมื่อเจ้าหน้าที่ของรัฐหรือเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องติดต่อขอข้อมูล หรือขอตรวจสอบด้านสภาวะแวดล้อมพนักงานต้องแจ้งหน่วยงานที่ได้รับมอบหมายด้านสิ่งแวดล้อม สุขภาพและความปลอดภัยของบริษัทเพื่อดําเนินการประสานงานและนัดหมาย พร้อมทั้งให้ความร่วมมือตามที่ได้รับมอบหมาย

จริยธรรมว่าด้วยการรักษาความปลอดภัยทางเทคโนโลยี

บริษัทตระหนักเป็นอย่างดีว่าทรัพย์สินของบริษัทอาจถูกนําไปใช้อย่างไม่เหมาะสม และอาจถูกหรือทําลาย โดยคู่แข่งหรือบุคคลอื่นที่พยายามทําลายธุรกิจและชื่อเสียงของบริษัท การดําเนินธุรกิจของบริษัท จึงต้องมีการป้องกันการจารกรรมและกรก่อนาศกรรมเป็นอย่างดี เพื่อให้ลูกค้ามั่นใจว่าได้รับบริการที่ต่อเนื่องและปลอดจากการแทรกแซง รวมทั้งการเพิ่มประสิทธิภาพการบริการในอนาคต ตัวอย่างข้อมูลที่อาจถูกจารกรรมและวินาศกรรม ได้แก่ รหัสผ่านคอมพิวเตอร์ มาตรการด้านความมั่นคงปลอดภัย ตําแหน่งที่ติดตั้งระบบและอุปกรณ์ รายละเอียดแผนผังวงจร กระบวนการกู้ระบบบริการ และการปรับเปลี่ยนเส้นทางการส่งข้อมูลในกรณีฉุกเฉิน ข้อมูลลับและข้อมูลความมั่นคงแห่งชาติ ข้อมูลทางเทคนิคและการวิจัยตลาด ข้อมูลการพัฒนาผลิตภัณฑ์ แผนธุรกิจ แผนและกลยุทธ์ทางการตลาด เป็นต้น โดยมีนโยบายและแนวทางปฎิบัติด้านการรักษาความปลอดภัยทางเทคโนโลยี ดังนี้

  1. พนักงานจะใช้และให้ผู้อื่นใช้ข้อมูลและทรัพย์สินของบริษัท ได้ต่อเมื่อได้รับอนุญาตและเพื่อประโยชน์ทางธุรกิจของบริษัทเท่านั้น
  2. พนักงานต้องเข้มงวดกวดขันมิให้ผู้ที่ไม่มีหน้าที่เกี่ยวกับข้อมูลลับเข้าไปในบริเวณที่เก็บข้อมูลพนักงานต้องเก็บข้อมูลเหล่านั้นไว้ในที่ที่ปลอดภัยและที่ที่มีการป้องกันอย่างแน่นหนาภายหลังเสร็จสิ้นการใช้งานแล้ว
  3. พนักงานต้องรายงานให้กับผู้บังคับบัญชารับทราบทันที เมื่อมีบุคคลที่ไม่ได้รับอนุญาตพยายามเข้าถึงข้อมูลลับหรือเข้าไปในเขตหวงห้ามของบริษัท

จริยธรรมว่าด้วยการสนับสนุนการไม่ล่วงละเมิดทรัพย์สินทางปัญญาหรือลิขสิทธิ์

คณะกรรมการบริษัท เคารพสิทธิในทรัพย์สินทางปัญญาของผู้อื่น โดยไม่ละเมิดหรือไม่สนับสนุนการดําเนินการที่มีลักษณะเป็นการละเมิดทรัพย์สินทางปัญญาและงานอันมีลิขสิทธิ์ของผู้อื่น ซึ่งแสดงถึงเจตนารมณ์ของบริษัทในการดําเนินธุรกิจด้วยความเป็นธรรม เคารพและปฏิบัติตามกฎหมายที่เกี่ยวกับทรัพย์สินทางปัญญา โดยมีนโยบายและแนวทางในการปฏิบัติ ดังนี้

  1. ส่งเสริมการพัฒนาและเคารพการสร้างสรรค์ทรัพย์สินทางปัญญาและงานอันมีลิขสิทธิ์ ตลอดจนประเมินคุณค่างาน สร้างสรรค์ดังกล่าวอย่างเป็นธรรม
  2. ร่วมปกป้องและเคารพทรัพย์สินทางปัญญาและงานอันมีลิขสิทธิ์ของบริษัทและบุคคลอื่น โดยไม่ละเมิดหรือสนับสนุนการกระทําใดๆ ที่เป็นการละเมิด เช่น ทำซ้ำ ดัดแปลง คัดลอก ทําสําเนา การแพร่เสียง แพร่ภาพ เผยแพร่ต่อสาธารณชน หรือการกระทําในลักษณะอื่นใด รวมทั้งไม่นําผลงานของผู้อื่นมาแอบอ้าง เป็นผลงานของตนเอง
  3. สนับสนุนและมีส่วนร่วมในกิจกรรมอันเป็นประโยชน์ต่อการปกป้องและป้องกันการละเมิดทรัพย์สินทางปัญญาและงานอันมีลิขสิทธิ์
  4. ส่งเสริมให้มีการให้ความรู้และฝึกอบรมแก่พนักงาน เพื่อปลูกฝังจิตสํานึกเกี่ยวกับการเคารพและการสร้างสรรค์ทรัพย์สินทางปัญญาและงานอันมีลิขสิทธิ์ให้เกิดขึ้นในหมู่พนักงานทุกระดับ และสนับสนุนให้พนักงานเข้าร่วมกิจกรรมต่างๆ ที่บริษัทจัดขึ้น
  5. ออกระเบียบข้อบังคับบริษัทเกี่ยวกับการทํางาน โดยกําหนดให้พนักงานต้องไม่ปฎิบัติตนอันเป็น การนํามาซึ่งความเสื่อมเสียชื่อเสียงของบริษัทโดยปฏิบัติตนให้เป็นไปตามข้อกําหนด ประกาศ คําสั่งของหน่วยงานภาครัฐหรือกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับทรัพย์สินทางปัญญาและลิขสิทธิ์ เช่น กฎหมายเกี่ยวกับ เครื่องหมายการค้า กฎหมายเกี่ยวกับสิทธิบัตร กฎหมายเกี่ยวกับลิขสิทธิ์ หรือกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้อง รวมทั้ง ประกาศ คําสั่ง และระเบียบปฏิบัติต่าง ๆ ที่บริษัทกําหนดขึ้น
  6. กําหนดให้การละเมิดทรัพย์สินทางปัญญาและงานอันมีลิขสิทธิ์ ถือเป็นความผิดร้ายแรงและหากพบการกระทําความผิด บริษัทจะดําเนินการกับพนักงานผู้กระทําผิดตามข้อบังคับบริษัทเกี่ยวกับการทํางาน และตามกฎหมายต่อไป

จริยธรรมว่าด้วยการมีส่วนได้เสียและความขัดแย้งทางผลประโยชน์

คณะกรรมการบริษัท ตระหนักถึงความสําคัญในการป้องกันความขัดแย้งของผลประโยชน์ โดยมีนโยบายและแนวทางปฏิบัติดังนี้

  1. ในการป้องกันความขัดแย้งทางผลประโยชน์ คณะกรรมการบริษัทจะมีการดูแลอย่างรอบคอบ เมื่อเกิดรายการที่อาจมีความขัดแย้งทางผลประโยชน์ โดยมีการกําหนดนโยบายและขั้นตอนการอนุมัติรายการที่เกี่ยวโยงกันเป็นลายลักษณ์อักษรไว้ในระเบียบอํานาจอนุมัติและดําเนินการ และ/หรือขออนุมัติจากผู้ถือหุ้นตามข้อกําหนดของ ตลท. รวมทั้งมีการปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ของ ตลท. โดยราคาและเงื่อนไขเสมือนทำรายการกับบุคคลภายนอก (Arm's Length Basis)
  2. กรณีที่คณะกรรมการบริษัท เป็นผู้มีอํานาจอนุมัติรายการระหว่างกันจะต้องมีกรรมการอิสระหรือ กรรมการตรวจสอบเข้าร่วมประชุมคณะกรรมการบริษัทด้วย
  3. คณะกรรมการตรวจสอบจะนําเสนอต่อคณะกรรมการบริษัทเกี่ยวกับรายการที่มีความขัดแย้งทางผลประโยชน์และรายการที่เกี่ยวโยงกันอย่างสม่ำเสมอโดยบุคคลที่อาจมีความขัดแย้งทางผลประโยชน์ไม่มีสิทธิออกเสียงหรืออนุมัติรายการนั้น
  4. ในกรณีที่มีการทํารายการที่เกี่ยวโยงกันที่เข้าข่ายจะต้องเปิดเผยข้อมูล หรือขออนุมัติจากผู้ถือหุ้นตามข้อกําหนดของ ตลท. ก่อนการทํารายการ บริษัทได้มีการเปิดเผยรายละเอียดอาทิ ชื่อ ความสัมพันธ์ของบุคคลที่เกี่ยวโยง นโยบายการกําหนดราคา มูลค่าของรายการ เหตุผลของการทํารายการ รวมทั้งความเห็นของคณะกรรมการบริษัทเกี่ยวกับรายการดังกล่าวให้ผู้ถือหุ้นทราบอย่างชัดเจน
  5. ในการทํารายการระหว่างกันในลักษณะที่เป็นการให้ความช่วยเหลือทางการเงิน คณะกรรมการบริษัทได้มีการกําหนดแนวทางในการทํารายการระหว่างกันในลักษณะที่เป็นการให้ความช่วยเหลือทางการเงินไว้ในระเบียบอํานาจอนุมัติและดําเนินการที่ผ่านการอนุมัติจากคณะกรรมการบริษัท
  6. คณะกรรมการบริษัท กําหนดแนวทางในการเก็บรักษาและป้องกันการใช้ข้อมูลภายในเป็นลายลักษณ์อักษร และแจ้งแนวทางดังกล่าวให้ทุกคนในบริษัทถือปฏิบัติและห้ามบุคคลที่เกี่ยวข้องกับข้อมูล ภายในทําการซื้อขายหลักทรัพย์ของบริษัทภายใน 1 เดือน ก่อนการเปิดเผยงบการเงินรายไตรมาสและงบการเงินประจําปี
  7. บริษัทกําหนดนโยบายให้กรรมการ กรรมการบริหาร และผู้บริหาร (ตามนิยามของ ก.ล.ต.) ซึ่งรวมถึงจํานวนหลักทรัพย์ที่ถือครองของบุคคลที่มีความเกี่ยวข้องตามมาตรา 59 แห่ง พ.ร.บ. หลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ฯ มีหน้าที่ในการรายงานการถือครองหลักทรัพย์ของบริษัท ในการประชุมคณะกรรมการบริษัท โดยกําหนดให้เลขานุการบริษัทเป็นผู้สรุปรายงานการถือครองหลักทรัพย์ และการเปลี่ยนแปลงการถือหลักทรัพย์ เสนอต่อที่ประชุมคณะกรรมการบริษัทเพื่อรับทราบเป็นรายไตรมาส
  8. บริษัทกําาหนดให้กรรมการ ผู้บริหาร และบุคคลที่มีความเกี่ยวข้อง (ตามนิยามของ ก.ล.ต.) ต้องจัดทํารายงานการมีส่วนได้ เสียของตนและจัดส่งให้กับบริษัท และให้เลขานุการบริษัทสรุปรายงานการมีส่วนได้เสียของกรรมการ ผู้บริหารและบุคคลที่เกี่ยวข้องของบริษัท
  9. บริษัทกําหนดให้มีการเปิดเผยรายการระหว่างกันที่มีสาระสําคัญ โดยแสดงรายละเอียดชื่อบุคคลที่อาจมีความขัดแย้งทางผลประโยชน์ ความสัมพันธ์ ลักษณะของรายการ เงื่อนไข นโยบายการกําาหนดราคา และมูลค่าของรายการ เหตุผลความจําเป็น และความเห็นของคณะกรรมการ ตรวจสอบและ/หรือคณะกรรมการบริษัท ไว้ในรายงานสารสนเทศ และ/หรือ แบบแสดงรายการข้อมูลประจําปี (แบบ 56-1 One Report) ของบริษัท

คณะกรรมการบริษัท ดูแลให้บริษัทมีการสื่อสารและเปิดเผยข้อมูลสําคัญที่เกี่ยวข้องกับบริษัททั้งข้อมูลทางการเงินและข้อมูลที่ไม่ใช่ข้อมูลทางการเงิน โดยบริษัท มีแนวทางปฏิบัติที่สําคัญ ดังนี้

จัดให้มีช่องทางการสื่อสารและเผยแพร่ข้อมูลของบริษัท คณะกรรมการบริษัท จัดให้มีช่องทางการสื่อสารและเผยแพร่ข้อมูลที่หลากหลาย เพื่อให้ผู้ถือหุ้น ผู้ลงทุน และผู้มีส่วนได้เสียอื่น สามารถเข้าถึงข้อมูลของบริษัท ได้อย่างสะดวก ทั่วถึง และเท่าเทียมกัน ผ่านช่องทางต่างๆ อย่างสม่ำเสมอ ทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษอาทิเช่น เว็บไซต์บริษัท และสื่ออิเล็กทรอนิกส์และเว็บไซต์ของ ตลท. เป็นต้น

คณะกรรมการบริษัท ตระหนักถึงบทบาทหน้าที่และความรับผิดชอบการชี้แนะทิศทางการดําเนินงาน ติดตามดูแลการทํางานของฝ่ายจัดการปฏิบัติหน้าที่ด้วยความรู้ ความสามารถ โปร่งใส ระมัดระวัง และมีความรับผิดชอบในการปฏิบัติหน้าที่ (Accountability) ของคณะกรรมการบริษัทที่มีต่อบริษัทและผู้ถือหุ้น โดยเป็นอิสระจากฝ่ายจัดการ ซึ่งมีแนวทางปฎิบัติที่สําคัญ ดังนี้

องค์ประกอบของคณะกรรมการบริษัท

  1. บริษัทได้จัดให้มีจํานวนกรรมการที่เหมาะสมกับขนาดของกิจการบริษัท นอกจากนั้นบริษัท มีการกําหนดความหลากหลายของโครงสร้างของคณะกรรมการ เช่น ทักษะวิชาชีพ ความเชี่ยวชาญเฉพาะด้าน เพศ อายุ การไม่จํากัดเชื้อชาติ สัญชาติ เป็นต้น โดยคณะกรรมการประกอบด้วยกรรมการไม่น้อยกว่า 5 คน และกรรมการไม่น้อยกว่าหนึ่งของจํานวนกรรมการทั้งหมด ต้องมีถิ่นฐานอยู่ในราชอาณาจักร และต้องมีกรรมการอย่างน้อยหนึ่งคนมีประสบการณ์ด้านบัญชีและการเงิน
  2. คณะกรรมการบริษัท ประกอบด้วยกรรมการที่เป็นอิสระ (Independent Director) อย่างน้อย 1 ใน 3 ของจํานวนกรรมการทั้งคณะและมีจํานวนอย่างน้อย 3 คน
  3. คณะกรรมการบริษัท ประกอบด้วยกรรมการที่ไม่เป็นผู้บริหาร (Non-Executive Director) เพื่อปฏิบัติหน้าที่และถ่วงดุลระหว่างกรรมการที่ไม่เป็นผู้บริหารกับกรรมการที่มีส่วนร่วมบริหารงาน (Executive Director) และในจํานวนนี้มีอย่างน้อย 1 ใน 3 ของจํานวนกรรมการทั้งคณะต้องเป็นกรรมการที่ เป็นอิสระ

คุณสมบัติของคณะกรรมการบริษัท

บริษัทฯ กําหนดให้คณะกรรมการบริษัท มีคุณสมบัติ ดังต่อไปนี้

  1. มีคุณสมบัติ และไม่มีลักษณะต้องห้ามตาม พ.ร.บ. บริษัทมหาชนจํากัด พ.ศ. 2535 หรือ กฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้อง ตลอดจนข้อกำหนดของ ตลท. และ ก.ล.ต. และข้อบังคับบริษัท
  2. เป็นผู้ทรงคุณวุฒิ มีความรู้ ความสามารถ มีประสบการณ์ที่เป็นประโยชน์ต่อการดําเนินธุรกิจของบริษัท และสอดคล้องกับกลยุทธ์ในการดําเนินธุรกิจของบริษัท
  3. มีภาวะผู้นํา วิสัยทัศน์ และมีความอิสระในการตัดสินใจ เพื่อประโยชน์สูงสุดของบริษัท และผู้ถือหุ้นโดยรวม
  4. มีความรับผิดชอบที่จะปฏิบัติหน้าที่กรรมการและสามารถอุทิศเวลาในการปฏิบัติหน้าที่ กรรมการของบริษัท ได้อย่างเต็มที่ ตลอดจนมีความรับผิดชอบต่อผู้ถือหุ้นอย่างสม่ำเสมอ (Accountability to Shareholders) และตัดสินใจด้วยความระมัดระวัง (Duty of Care) เพื่อรักษาผลประโยชน์ของบริษัท
  5. ปฏิบัติหน้าที่ด้วยความซื่อสัตย์ สุจริต มีจริยธรรม ภายใต้กรอบของกฎหมายตลอดจนแนวทางการกํากับดูแลกิจการที่ดี และจริยธรรมธุรกิจ

คุณสมบัติกรรมการอิสระ

กรรมการอิสระ หมายถึง บุคคลที่มีคุณสมบัติครบถ้วนและมีความเป็นอิสระตามที่ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยได้กําหนด ดังนี้

  1. จํานวน/องค์ประกอบของคณะกรรมการอิสระต้องมีไม่น้อยกว่า 1/3 ของคณะกรรมการทั้งคณะและต้องไม่ต่ำกว่า 3 คน
  2. จะต้องถือหุ้นไม่เกิน 0.5% ของจํานวนหุ้นที่มีสิทธิออกเสียงทั้งหมดของบริษัท นับรวมการถือหุ้นของผู้เกี่ยวข้องด้วย
  3. ภายในระยะเวลา 2 ปีก่อนหน้าจนถึงปัจจุบันจะต้องไม่มีส่วนในการบริหารหรือเป็นผู้มีอํานาจควบคุมบริษัท
  4. ภายในระยะเวลา 2 ปีก่อนหน้าจนถึงปัจจุบันจะต้องไม่มีความสัมพันธ์ทางธุรกิจกับ
    • ผู้สอบบัญชี : ห้ามทุกกรณี
    • ผู้บริการทางวิชาชีพอื่น : มูลค่ารายการเกินกว่า 2 ล้านบาท / ปี
    เว้นแต่ จะมีเหตุจําเป็น/สมควร เกิดขึ้นอย่างไม่สม่ำเสมอและไม่ต่อเนื่อง มีความสัมพันธ์ในระดับที่เกินนัยสําคัญ และได้ขอ อนุมัติและได้มติเอกฉันท์จากคณะกรรมการบริษัทโดยที่บริษัทต้องเปิดเผยความสัมพันธ์ดังกล่าวในแบบ 56-1 / รายงานประจําปี / หนังสือนัดประชุม
  5. จะต้องไม่เกี่ยวข้องทางสายโลหิต ทางการจดทะเบียน หรือเป็นตัวแทนกับ/ของผู้บริหาร/ผู้ถือหุ้นใหญ่/ผู้มีอํานาจควบคุม หรือบุคคลที่จะได้รับการเสนอชื่อเป็นผู้บริหารหรือผู้มีอํานาจควบคุมของบริษัทหรือบริษัทย่อย เช่น สามี ภรรยา บุตรบุญธรรม เป็นต้น
  6. จะต้องไม่เป็นกรรมการในบริษัทจดทะเบียนอื่นในกลุ่ม
  7. เป็นกรรมการที่ไม่มีส่วนร่วมในการบริหารงาน ไม่เป็นลูกจ้าง พนักงาน หรือที่ปรึกษาที่ได้รับเงินเดือนประจําจากบริษัท บริษัทย่อย หรือผู้ถือหุ้นรายใหญ่
  8. เป็นกรรมการที่ไม่มีผลประโยชน์หรือส่วนได้เสียไม่ว่าทางตรงหรือทางอ้อมทั้งในด้านการเงินและการบริหารงานในบริษัทและ/หรือ บริษัทย่อย
  9. เป็นกรรมการที่ไม่ใช่เป็นผู้เกี่ยวข้องหรือญาติสนิทของผู้บริหารหรือผู้ถือหุ้นรายใหญ่
  10. เป็นกรรมการที่ไม่ได้รับการแต่งตั้งขึ้นเป็นตัวแทนเพื่อรักษาผลประโยชน์ของกรรมการบริษัท ผู้ถือหุ้นรายใหญ่ หรือผู้ถือหุ้น ซึ่งเป็นผู้ที่เกี่ยวข้องกับผู้ถือหุ้นรายใหญ่

วาระการดำรงตำแหน่ง

วาระการดํารงตําแหน่งของกรรมการบริษัท ได้กําหนดให้เป็นไปตาม พ.ร.บ. บริษัทมหาชนจํากัด พ.ศ. 2535 และข้อบังคับของบริษัท กล่าวคือ ในการประชุมผู้ถือหุ้นประจําปี กรรมการบริษัทต้องหมุนเวียนออกจากตําแหน่งเป็นจํานวน 1 ใน 3 ของจํานวนกรรมการบริษัททั้งหมด โดยให้กรรมการที่อยู่ในตําแหน่งนานที่สุดเป็นผู้ออกจากตําแหน่ง ก่อนถ้าจํานวนกรรมการที่จะออกไม่อาจแบ่งให้ตรงเป็น 3 ส่วนได้ ก็ให้ออกโดยจํานวนใกล้เคียงที่สุดกับส่วน 1 ใน 3 และกรรมการซึ่งพ้นจากตําแหน่งแล้วอาจได้รับเลือกเข้ารับตําแหน่งอีกก็ได้ โดยเสนอต่อที่ประชุมผู้ถือหุ้นเพื่อพิจารณาอนุมัติ

นอกจากนี้ บริษัทมีการจํากัดจํานวนปีในการดํารงตําแหน่งของกรรมการอิสระไว้ไม่เกิน 9 ปี โดยไม่มีข้อยกเว้น และมีการจํากัดจํานวนบริษัทจดทะเบียนที่กรรมการแต่ละคนจะดํารงตําแหน่งกรรมการได้ไม่เกิน 5 แห่ง โดยไม่มีข้อยกเว้น รวมทั้งกําหนดให้ CEO (ผู้บริหารสูงสุด) สามารถดํารงตําแหน่งกรรมการที่บริษัทอื่นได้ โดยต้องมีการแจ้งแก้คณะกรรมการบริษัทก่อน

อำนาจหน้าที่ของประธานกรรมการบริษัท

  1. ประธานกรรมการมีความเป็นอิสระจากฝ่ายจัดการ ไม่ก้าวก่ายในการบริหารงานปกติประจําวันของฝ่ายจัดการ โดยแบ่งบทบาทหน้าที่กันอย่างชัดเจน
  2. กํากับดูแลให้การทําหน้าที่ของคณะกรรมการเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ สนับสนุน ให้คําแนะนํา ช่วยเหลือการดําเนินงานของฝ่ายจัดการให้เป็นไปภายใต้กรอบอํานาจที่ได้รับจากคณะกรรมการ เพื่อให้บรรลุตามวัตถุประสงค์เป้าหมายของบริษัท
  3. ส่งเสริมดูแลให้กรรมการยึดถือปฏิบัติตามขอบเขตอํานาจหน้าที่ความรับผิดที่มีต่อผู้ถือหุ้นและผู้มีส่วนได้ส่วนเสียและตามหลักการกํากับดูแลกิจการที่ดี มาตรฐานทางจริยธรรมและจรรยาบรรณในการดําเนินธุรกิจของ ปตรวมถึงส่งเสริมดูแลให้กรรมการทุกคนมีส่วนร่วมในการส่งเสริมให้เกิดวัฒนธรรมองค์กรที่มีจริยธรรมและการกํากับดูแลกิจการที่ดี
  4. ให้ความเห็นชอบในการจัดวาระการประชุมคณะกรรมการโดยหารือร่วมกับประธานเจ้าหน้าที่บริหาร
  5. ทําหน้าที่ประธานในที่ประชุมคณะกรรมการและที่ประชุมผู้ถือหุ้นอย่างมีประสิทธิภาพ
  6. จัดสรรเวลาไว้อย่างเพียงพอที่ฝ่ายจัดการจะเสนอข้อมูลและกรรมการสามารถให้ความเห็นในประเด็นสําคัญได้อย่างรอบคอบโดยทั่วกัน รวมถึงเสริมสร้างความสัมพันธ์อันดีระหว่างคณะกรรมการ และระหว่างคณะกรรมการกับฝ่ายจัดการ
  7. ประธานกรรมการมีหน้าจัดการความสัมพันธ์หลักระหว่างคณะกรรมการบริษัทและฝ่ายบริหาร

การประชุมคณะกรรมการบริษัท

คณะกรรมการบริษัท ได้ประกาศกําหนตารางประชุมล่วงหน้าตลอดทั้งปี ให้กรรมการและผู้เกี่ยวข้องทราบ โดยมีการประชุมวาระปกติอย่างน้อยไตรมาสละ 1 ครั้ง และได้แจ้งตารางการประชุมทั้งปีให้กรรมการทราบตั้งแต่ปลายปี ทั้งนี้ อาจมีการประชุมในวาระพิเศษเพิ่มตามความจําเป็น โดยมีการ กําหนดวาระไว้ล่วงหน้าและมีการแบ่งหมวดหมู่อย่างชัดเจน อาทิ เรื่องเพื่อทราบ เพื่ออนุมัติเพื่อพิจารณา

บริษัทมีแนวทางในการพิจารณาเรื่องที่จะนําเข้าวาระการประชุมคณะกรรมการบริษัท เพื่อให้แน่ใจว่าเรื่องที่สําคัญได้ถูกบรรจุเข้าวาระการประชุมเรียบร้อยแล้ว และกรรมการแต่ละท่านมีความเป็นอิสระที่จะเสนอเรื่องเข้าสู่วาระการประชุม โดยเลขานุการบริษัทจะจัดส่งหนังสือเชิญประชุม ซึ่งมีรายละเอียดวาระการประชุม และเอกสาร ประกอบการประชุม ให้แก่กรรมการแต่ละท่านล่วงหน้าก่อนการประชุมอย่างน้อย 7 วัน เพื่อให้คณะกรรมการบริษัทได้ มีเวลาศึกษาข้อมูลอย่างเพียงพอก่อนเข้าร่วมประชุม เว้นแต่ ในกรณีจําเป็นหรือ เร่งด่วน อาจแจ้งการนัดประชุมโดยวิธีอื่น หรือกําหนดวันประชุมให้เร็วกว่านั้นได้ ปกติการประชุมแต่ละครั้งจะใช้เวลา 1-2 ชั่วโมง โดยมี เลขานุการบริษัทเป็นผู้บันทึกรายงานการประชุม

ทั้งนี้ เพื่อส่งเสริมให้การทําหน้าที่ของคณะกรรมการบริษัท เลขานุการบริษัทได้กําหนดหลักเกณฑ์ และรูปแบบข้อมูลในเอกสารที่จะนําเสนอต่อคณะกรรมการบริษัทให้มีความครบถ้วน เพียงพอ และเหมาะสม เพื่อสนับสนุนให้การประชุมคณะกรรมการ บริษัทดําเนินไปอย่างราบรื่น รวดเร็ว และมีประสิทธิภาพสูงสุดภายใต้กฎหมาย และกฎเกณฑ์ที่เกี่ยวข้อง โดยให้ทุกหน่วยงานใช้อ้างอิง และยึดถือเป็นมาตรฐานในการจัดเตรียมข้อมูลก่อนนําส่งให้เลขานุการบริษัทรวบรวมนําเสนอในที่ประชุมคณะกรรมการบริษัทในการประชุมแต่ละครั้ง

ในการประชุมแต่ละคราวประธานที่ประชุม จะเปิดโอกาสให้กรรมการแต่ละท่านแสดงความคิดเห็นอย่างเป็นอิสระและมีการ จัดสรรเวลาการประชุมอย่างเหมาะสมและมีประสิทธิภาพ ในกรณีที่มีกรรมการท่านใดที่มีส่วนได้เสียใด ๆ ในเรื่องที่พิจารณากรรมการ จะแจ้งต่อที่ประชุมเพื่อรับทราบ และจะต้องไม่เข้าร่วมในการแสดงความเห็นและไม่มีสิทธิออกเสียงลงมติในเรื่องนั้น ๆ โดยจำนวนองค์ประชุมขั้นต่ำ ณ ขณะที่คณะกรรมการจะลงมติในที่ประชุมคณะกรรมการ ต้องมีกรรมการอยู่ไม่น้อยกว่า 2 ใน 3 ของจํานวนกรรมการทั้งหมด

คณะกรรมการบริษัท มีนโยบายส่งเสริมให้กรรมการแต่ละคนเข้าร่วมการประชุมคณะกรรมการอย่างสม่ำเสมอ โดยเฉลี่ยไม่น้อยกว่าร้อยละ 80 ของการประชุมคณะกรรมการบริษัททั้งหมดในรอบปี โดยมีการเปิดเผยจํานวนครั้งของ การประชุมและการเข้าร่วม ประชุมของกรรมการบริษัทและกรรมการชุดย่อยแต่ละคนไว้ในแบบแสดงรายการข้อมูลประจําปี (56-1 One-Report) ของบริษัท

นอกจากนั้น คณะกรรมการบริษัทยังมีนโยบายส่งเสริมให้กรรมการที่ไม่เป็นผู้บริหาร กรรมการอิสระ กรรมการ ตรวจสอบ ประชุม ระหว่างกันเองได้ตามความจําเป็น เพื่ออภิปรายปัญหาต่าง ๆ เกี่ยวกับการจัดการที่อยู่ในความสนใจโดยไม่มีฝ่ายบริหารเข้าร่วมด้วย

การรวมหรือแยกตำแหน่ง

คณะกรรมการบริษัท กําหนดให้มีการแบ่งแยกอํานาจหน้าที่ เพื่อกระจายอํานาจ หน้าที่ในการตัดสินใจและสั่งการ มีการ ถ่วงดุลและสอบทานการบริหารงานอย่างชัดเจน ซึ่งได้มีการทบทวนปรับปรุงมาโดยตลอด ให้มีความเหมาะสมและครอบคลุมกิจกรรมต่างๆ ของบริษัทตลอดจนสอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงของประกาศหรือข้อกําหนดของหน่วยงานกํากับดูแลต่าง ๆ โดยมีการ กําหนดอำนาจดําเนินการในการบริหารจัดการภายใต้ระเบียบอํานาจดําเนินการ ซึ่งฉบับล่าสุดนั้น ได้รับการอนุมัติปรับปรุงจากคณะกรรมการบริษัทให้ผู้ที่เกี่ยวข้องเพื่อรับทราบและถือปฎิบัติตามอย่างเคร่งครัด

ความเป็นอิสระของคณะกรรมการบริษัทและฝ่ายจัดการ

1. การแยกตําแหน่งประธานกรรมการบริษัทและประธานเจ้าหน้าที่บริหารกลุ่ม

คณะกรรมการบริษัท ส่งเสริมการกํากับดูแลกิจการที่ดี โดยคณะกรรมการบริษัทกําหนดให้ประธาน กรรมการบริษัทเป็นคนละคนกับประธานเจ้าหน้าที่บริหาร ตลอดจนมีการแบ่งแยกอํานาจหน้าที่ไว้อย่างชัดเจน ตามระเบียบอำนาจอนุมัติและดําเนินการ ที่ผ่านการพิจารณาอนุมัติจากคณะกรรมการบริษัทเพื่อให้คณะกรรรมการบริษัททําหน้าที่ตรวจสอบและถ่วงดุลการทํางานของฝ่ายจัดการได้อย่างอิสระ

2. การถ่วงดุลของกรรมการ

คณะกรรมการบริษัท จัดให้มีองค์ประกอบของคณะกรรมการบริษัทอย่างเหมาะสม และมีการแบ่งแยก บทบาทหน้าที่ และ ความรับผิดชอบระหว่างคณะกรรมการบริษัทและฝ่ายจัดการที่ชัดเจน กรรมการทุกคนมีความเป็นอิสระในการแสดงความเห็นต่อการดําเนินงานบริษัทด้วยความซื่อสัตย์ สุจริต รักษาผลประโยชน์ของบริษัทโดยไม่ถูกครอบงํา ตลอดจนมีความรับผิดชอบในการปฏิบัติหน้าที่ตามกฎหมาย ข้อบังคับของบริษัท ตลอดจนมติของที่ประชุมคณะกรรมการบริษัท และมติของที่ประชุมผู้ถือหุ้น

คณะกรรมการตรวจสอบ

อำนาจหน้าที่และความรับผิดชอบของคณะกรรมการตรวจสอบ

  1. สอบทานให้บริษัทมีรายงานทางการเงินถูกต้องตามที่ควรตามมาตรฐานการบัญชีที่รับรองโดยทั่วไปและมีการเปิดเผยอย่างเพียงพอ
  2. สอบทานให้บริษัทมีระบบการควบคุมภายใน (Internal Control) และการตรวจสอบภายใน (Internal Audit) ที่เหมาะสม และมีประสิทธิผลและพิจารณาความเป็นอิสระของหน่วยงานตรวจสอบภายใน ตลอดจนให้ความเห็นชอบในการพิจารณาแต่งตั้งโยกย้าย เลิกจ้างหัวหน้าหน่วยงานตรวจสอบภายใน หรือหน่วยงานอื่นใดที่รับผิดชอบเกี่ยวกับการตรวจสอบภายใน
  3. สอบทานให้บริษัทปฏิบัติตามกฎหมายว่าด้วยหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ข้อกําหนดของตลาดหลักทรัพย์ หรือกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจของบริษัท
  4. พิจารณาคัดเลือกเสนอแต่งตั้งและเสนอค่าตอบแทนผู้สอบบัญชีของบริษัท
  5. พิจารณารายการที่เกี่ยวโยงกันหรือรายการที่อาจมีความขัดแย้งทางผลประโยชน์ ให้เป็นไปตามกฎหมายและข้อกําหนดของตลาดหลักทรัพย์ทั้งนี้เพื่อให้มั่นใจว่ารายการดังกล่าวสมเหตุสมผลและเป็นประโยชน์สูงสุดต่อบริษัท
  6. จัดทํารายงานของคณะกรรมการตรวจสอบโดยเปิดเผยไว้ในรายงานประจําปีของบริษัท ซึ่งรายงานดังกล่าวต้อง ลงนามโดยประธานคณะกรรมการตรวจสอบ และต้องประกอบด้วยข้อมูลอย่างน้อยดังต่อไปนี้

    บัญชี

    (ก) ความเห็นเกี่ยวกับความถูกต้อง ครบถ้วน เป็นที่เชื่อถือได้ของรายงานทางการเงินของบริษัท

    (ข) ความเห็นเกี่ยวกับความเพียงพอของระบบควบคุมภายในของบริษัท

    (ค) ความเห็นเกี่ยวกับการปฏิบัติตามกฎหมายว่าด้วยหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ข้อกําหนดของตลาดหลักทรัพย์หรือกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจของบริษัท

    (ง) ความเห็นเกี่ยวกับความเหมาะสมของผู้สอบบัญชี

    (จ) ความเห็นเกี่ยวกับรายการที่อาจมีความขัดแย้งทางผลประโยชน์

    (ฉ) จํานวนการประชุมคณะกรรมการตรวจสอบ และการเข้าร่วมประชุมของกรรมการตรวจสอบแต่ละท่าน

    (ช) ความเห็นหรือข้อสังเกตโดยรวมที่คณะกรรมการตรวจสอบได้รับจากการปฏิบัติหน้าที่ตามกฎหมาย (Charter)

    (ซ) รายการอื่นที่เห็นว่าผู้ถือหุ้นและผู้ลงทุนทั่วไปควรทราบ ภายใต้ขอบเขตหน้าที่และความรับผิดชอบที่ได้รับมอบหมายจากคณะกรรมการบริษัท

  7. สอบทานให้บริษัทมีระบบการบริหารความเสี่ยง (Risk Management) ที่เหมาะสมและมีประสิทธิผล
  8. สอบทานและให้ความเห็นต่อแผนตรวจสอบภายใน การปฏิบัติงานของฝ่ายตรวจสอบภายในและประสานงานกับผู้สอบบัญชี
  9. ในการปฏิบัติงานตามขอบเขตอํานาจหน้าที่ คณะกรรมการตรวจสอบมีอํานาจเชิญให้ ฝ่ายจัดการ ผู้บริหารหรือพนักงาน ของบริษัทที่เกี่ยวข้องมาให้ความเห็น ร่วมประชุมหรือส่งเอกสารตามที่เห็นว่าเกี่ยวข้องจําเป็น
  10. จัดทํารายงานการกํากับดูแลกิจการของคณะกรรมการตรวจสอบ
  11. รายงานผลการปฏิบัติงานของคณะกรรมการตรวจสอบให้คณะกรรมการบริษัททราบอย่างน้อยปีละ 4 ครั้ง
  12. มีอํานาจว่าจ้างที่ปรึกษาหรือบุคคลภายนอกตามระเบียบของบริษัท เพื่อให้ความเห็นหรือคําปรึกษาในกรณีจําเป็น
  13. มีความรับผิดชอบต่อคณะกรรมการบริษัทตามหน้าที่และความรับผิดชอบที่ได้รับมอบหมายจากคณะกรรมการบริษัทและต้องรายงานผลการปฎิบัติงาน รวมถึงข้อเสนอแนะและสิ่งที่ตรวจพบให้คณะกรรมการบริษัททราบอย่างน้อยปีละ 2 ครั้ง

คณะกรรมการบริหาร

อํานาจหน้าที่และความรับผิดชอบของคณะกรรมการบริหาร

  1. บริหารและกํากับดูแลการดําเนินงานของบริษัทให้มีประสิทธิภาพเป็นไปตามทิศทางเป้าหมายของบริษัท โดยยึดถือแนวทาง ปฎิบัติหน้าที่ด้วยความรอบครอบระมัดระวัง ด้วยความซื่อสัตย์สุจริต เพื่อผลประโยชน์ของบริษัท และตามนโยบายของคณะกรรมการ บริษัทและกลั่นกรองเรื่องต่างๆ ที่จะนําเสนอต่อคณะกรรมการบริษัทเพื่อพิจารณาและดําเนินการอื่นๆ ตามที่คณะกรรมการบริษัทมอบหมาย และรายงานผลการปฎิบัติงานต่อคณะกรรมการบริษัท
  2. พิจารณาแผนการดําเนินงานของบริษัทให้แข่งขันได้ทั้งในระดับประเทศและระดับสากล
  3. วางแผนและกลั่นกรองการบริหารเงิน เพื่อลดภาระทางการเงินและมีโครงสร้างทางการเงินที่เข้มแข็ง
  4. วางแผนและกลั่นกรองการประชาสัมพันธ์เชิงรุก เพื่อให้เกิดภาพลักษณ์ที่ดีและยั่งยืน
  5. ปฏิบัติหน้าที่ตามที่ได้รับมอบหมายจากคณะกรรมการบริษัท
  6. ปฏิบัติหน้าที่ให้เป็นไปตามกฎหมาย วัตถุประสงค์ ข้อบังคับ ตลอดจนระเบียบของบริษัทโดยเคร่งครัด

อำนาจหน้าที่ของประธานเจ้าหน้าที่บริหาร

ตามข้อบังคับของบริษัท ผู้บริหารสูงสุดมีอํานาจและหน้าที่เกี่ยวกับการบริหารบริษัท ตามที่คณะกรรมการมอบหมายและจะต้องบริหารบริษัทตามแผนงานหรืองบประมาณที่ได้รับอนุมัติจากคณะกรรมการอย่างเคร่งครัด ซื่อสัตย์ สุจริตและระมัดระวัง รักษาผลประโยชน์ของบริษัทและผู้ถือหุ้นอย่างดีที่สุด อํานาจหน้าที่ของผู้บริหารสูงสุด ดังต่อไปนี้ด้วย

  1. ดําเนินกิจการ และ/หรือบริหารงานประจําวันของบริษัท
  2. บรรจุ แต่งตั้ง ถอดถอน โยกย้าย เลื่อน ลด ตัดเงินเดือนหรือค่าจ้าง ลงโทษทางวินัย พนักงานและลูกจ้างตลอดจนให้พนักงานและลูกจ้างออกจากตําแหน่งตามระเบียบที่คณะกรรมการกําหนด
  3. ดําเนินการให้มีการจัดทําและส่งมอบนโยบายทางธุรกิจของบริษัท รวมถึงแผนงานและงบประมาณต่อคณะกรรมการเพื่อขออนุมัติ และมีหน้าที่รายงานความก้าวหน้าตามแผนและงบประมาณที่ได้รับอนุมัติดังกล่าวต่อคณะกรรมการในทุก ๆ 3 เดือน
  4. ดําเนินการหรือปฏิบัติงานให้เป็นไปตามนโยบาย แผนงานและงบประมาณที่ได้รับอนุมัติจากคณะกรรมการ

การสืบทอดตําแหน่งสําหรับผู้บริหารสูงสุด

คณะกรรมการบริษัทต้องดําเนินการเพื่อให้มั่นใจได้ว่า บริษัทมีระบบการคัดสรรบุคลากรที่จะเข้ามารับผิดชอบในตําแหน่งงานบริหารที่สําคัญในทุกระดับอย่างเหมาะสม การสรรหาผู้บริหารสูงสุด จะเป็นไปตามกระบวนการสรรหาที่มีการพิจารณาบุคคลทั้งจากภายในและภายนอก

ทั้งนี้ ต้องมีการเตรียมความพร้อมด้านบุคลากรเพื่อวางแผนการสืบทอดโดยเฉพาะในตําแหน่งผู้บริหารสูงสุด โดยกําหนดนโยบาย/แนวทางการบริหารและพัฒนาผู้บริหารสูงสุด รวมทั้งการจัดทําแผนพัฒนารายบุคคล เพื่อให้มีความพร้อมขึ้นดํารงตําแหน่งที่สูงขึ้นเมื่อมีตําแหน่งว่าง

การสรรหาและแต่งตั้งกรรมการและผู้บริหารระดับสูง

การสรรหาและแต่งตั้งกรรมการอิสระ

  1. จํานวนของคณะกรรมการอิสระต้องมีไม่น้อยกว่า 1/3 ของคณะกรรมการทั้งคณะ และต้องไม่ต่ำกว่า 3 คน
  2. จะต้องถือหุ้นไม่เกิน 0.5% ของจํานวนหุ้นที่มีสิทธิออกเสียงทั้งหมดของบริษัท นับรวมการถือหุ้นของผู้เกี่ยวข้องด้วย
  3. ภายในระยะเวลา 2 ปีก่อนหน้าจนถึงปัจจุบันจะต้องไม่มีส่วนในการบริหารหรือเป็นผู้มีอํานาจควบคุมบริษัท
  4. ภายในระยะเวลา 2 ปีก่อนหน้าจนถึงปัจจุบันจะต้องไม่มีความสัมพันธ์ทางธุรกิจกับ
    • ผู้สอบบัญชี : ห้ามทุกกรณี
    • ผู้บริการทางวิชาชีพอื่น : มูลค่ารายการเกินกว่า 2 ล้านบาท / ปี
    เว้นแต่จะมีเหตุจําเป็น/สมควรเกิดขึ้นอย่างไม่สม่ำเสมอและไม่ต่อเนื่อง มีความสัมพันธ์ในระดับที่เกินนัยสําคัญซึ่งได้ขออนุมัติและได้มติเอกฉันท์จากคณะกรรมการบริษัทโดยที่บริษัทต้องเปิดเผยความสัมพันธ์ดังกล่าวในแบบ 56-1/รายงานประจําปี/หนังสือนัดประชุม
  5. จะต้องไม่เกี่ยวข้องทางสายโลหิต ทางการจดทะเบียน หรือเป็นตัวแทนกับ/ของผู้บริหาร/ผู้ถือหุ้นใหญ่/ผู้มีอํานาจควบคุม หรือบุคคลที่จะได้รับการเสนอชื่อเป็นผู้บริหารหรือผู้มีอํานาจควบคุมของบริษัทหรือบริษัทย่อย เช่น สามี ภรรยา บุตรบุญธรรม เป็นต้น
  6. จะต้องไม่เป็นกรรมการในบริษัทจดทะเบียนอื่นในกลุ่ม
  7. เป็นกรรมการที่ไม่มีส่วนร่วมในการบริหารงาน ไม่เป็นลูกจ้าง พนักงาน หรือที่ปรึกษาที่ได้รับเงินเดือนประจําจากบริษัท บริษัทย่อย หรือผู้ถือหุ้นรายใหญ่
  8. เป็นกรรมการที่ไม่มีผลประโยชน์หรือส่วนได้เสียไม่ว่าทางตรงหรือทางอ้อมทั้งในด้านการเงินและการบริหารงานใน บริษัท บริษัทย่อย
  9. เป็นกรรมการที่ไม่ใช่เป็นผู้เกี่ยวข้องหรือญาติสนิทของผู้บริหารหรือผู้ถือหุ้นรายใหญ่
  10. เป็นกรรมการที่ไม่ได้รับการแต่งตั้งขึ้นเป็นตัวแทนเพื่อรักษาผลประโยชน์ของกรรมการบริษัท ผู้ถือหุ้นรายใหญ่ หรือ ผู้ถือหุ้น ซึ่งเป็นผู้ที่เกี่ยวข้องกับผู้ถือหุ้นรายใหญ่

เนื่องจากความเป็นอิสระอย่างแท้จริงของกรรมการอิสระ เป็นเครื่องชี้วัดที่แสดงถึงการบริหารจัดการที่ดีของบริษัท ซึ่ง กรรมการอิสระที่บริษัทแต่งตั้งขึ้นนี้ บริษัทจึงได้กําหนดนิยามกรรมการอิสระให้มีความเคร่งครัดมากกว่าที่กําหนดโดยสํานักงาน ก.ล.ต. และบริษัทได้ปฎิบัติตามหลักเกณฑ์และแนวทางดังกล่าวอย่างเคร่งครัด ที่สําคัญกรรมการอิสระสามารถปฏิบัติหน้าที่ และให้ความเห็น หรือรายงานผลการปฏิบัติงานตามที่ได้รับมอบหมายได้อย่างอิสระ โดยไม่คํานึงถึงผลประโยชน์ใดๆ ที่เกี่ยวกับทรัพย์สินหรือตําแหน่ง หน้าที่ และไม่ตกอยู่ภายใต้อิทธิพลของบุคคลหรือกลุ่มบุคคลใด รวมถึงไม่มีสถานการณ์ใดๆ ที่จะมาบีบบังคับให้ไม่สามารถแสดง ความเห็นได้

การสรรหากรรมการและผู้บริหารระดับสูงสุด

คณะกรรมการบริษัททั้งคณะเป็นผู้สรรหากรรมการและผู้บริหารระดับสูงสุด

สําหรับการเลือกตั้งกรรมการที่ครบตามวาระ กําหนดคุณสมบัติของกรรมการที่ต้องการสรรหาให้มีความสอดคล้องกับกลยุทธ์ในการดําเนินธุรกิจของบริษัทและบริษัทได้เปิดโอกาสให้ผู้ถือหุ้นมีสิทธิในการเสนอรายชื่อบุคคลที่มีความเหมาะสมก่อนการประชุมสามัญผู้ถือหุ้นในแต่ละครั้งเพื่อให้คณะกรรมการบริษัทพิจารณาและเสนอต่อที่ประชุมสามัญผู้ถือหุ้นแต่งตั้ง โดยการเลือกตั้งกรรมการที่ครบกําหนดตามวาระ มีหลักเกณฑ์และวิธีการดังต่อไปนี้

  1. ในการลงคะแนนเสียงเลือกตั้งกรรมการให้ถือว่าผู้ถือหุ้นแต่ละคนมีคะแนนเสียงหนึ่งหุ้นต่อหนึ่งเสียง
  2. ในการลงคะแนนเสียงเลือกตั้งกรรมการให้ลงคะแนนเสียงเลือกตั้งเป็นรายบุคคล โดยให้ผู้ถือหุ้นลงคะแนนเสียงทั้งหมดที่ตนมีอยู่เลือกบุคคลที่ได้รับการเสนอชื่อเป็นกรรมการ
  3. บุคคลที่ได้รับคะแนนเสียงสูงสุดตามลําดับลงมาเป็นผู้ได้รับเลือกตั้งเป็นกรรมการเท่าจํานวนกรรมการที่พึงเลือกตั้งในครั้งนั้น ในกรณีที่บุคคลซึ่งได้รับเลือกตั้งในลําดับถัดลงมามีคะแนนเสียงเท่ากันเกินจํานวนกรรมการที่พึงมี ให้ประธานที่ประชุมออกเสียงได้เพิ่มขึ้นอีกหนึ่งเสียงเป็นเสียงชี้ขาด

กรณีที่ตําแหน่งกรรมการว่างลงเนื่องจากเหตุอื่นนอกจากการครบวาระออกจากตําแหน่งกรรมการให้คณะกรรมการ พิจารณาแต่งตั้งบุคคลซึ่งมีคุณสมบัติและไม่มีลักษณะต้องห้ามตามกฎหมายเข้าเป็นกรรมการในที่ประชุมคณะกรรมการแทนตําแหน่งที่ว่างลง เว้นแต่วาระของกรรมการที่พ้นจากตําแหน่งเหลือน้อยกว่า 2 เดือน โดยบุคคลซึ่งเข้าเป็นกรรมการแทนจะเข้าอยู่ในตําแหน่งกรรมการได้เพียงเท่าวาระที่เหลืออยู่ซึ่งตนแทน ทั้งนี้ มติการแต่งตั้งบุคคลเข้าเป็นกรรมการแทนดังกล่าวต้องได้รับคะแนนเสียง ไม่น้อยกว่า 3 ใน 4 ของจํานวนกรรมการที่ยังเหลืออยู่

ค่าตอบแทนกรรมการและผู้บริหาร

บริษัทได้กําหนดค่าตอบแทนกรรมการและผู้บริหาร อยู่ในระดับที่เหมาะสมและเทียบได้กับธุรกิจเดียวกัน โดยค่าตอบแทนของกรรมการในแต่ละปีจะทําการเสนอให้คณะกรรมการและผู้ถือหุ้นเป็นผู้พิจารณาอนุมัติ

ส่วนค่าตอบแทนของผู้บริหารจะเชื่อมโยงกับผลการดําเนินงานของบริษัท และผลการปฎิบัติงานของผู้บริหาร แต่ละท่าน